ครูเกษียณอายุราชการ2558
ข่าวสารทั่วไป
24โดย : admin
24/ส.ค./2558
2 stars ( 2 / 12 )
ประกาศผลการสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 ( 2147 / )
ประกาศผลสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 อ่านต่อ....
12โดย : admin
12/ส.ค./2558
4.5 stars ( 4.5 / 9 )
ค้นหารายชื่อนักเรียน ( 519 / )
ค้นหาชื่อนักเรียน อ่านต่อ....
ภาพกิจกรรมใหม่ล่าสุด
ข่าวการศึกษา
ข่าวครูบ้านนอก

กระดานถามตอบ


หัวข้อ (อ่าน/ตอบ)
โดย
วันที่
00004 : แนะแนวฟรี เทคนิคเรียนเก่งและสอบติวโควตา มข. (141/0)
BELL THEACT
1 ก.ย. 2558 : 00:18
00003 : จากผู้พัฒนาเว็บไซต์ รูปภาพ (231/0)
admin
23 ก.ค. 2558 : 16:11


วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558

16 ข้อบกพร่องของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

16 ข้อบกพร่องของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ข้อบกพร่องของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

        เราทราบแล้วว่าการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เป็นการค้นหาความจริงทางประวัติศาสตร์ โดยใช้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์หรือความจริงที่ผ่านมาแล้ว งานวิจัยทางด้านนี้มักจะพบข้อบกพร่องที่สำคัญคือ
        7.1 ปัญหาหรือเรื่องที่จะทำการวิจัยเป็นเรื่องที่กว้างเกินไป
        7.2 มักใช้ข้อมูลชั้นรองมากกว่าข้อมูลชั้นต้น
        7.3 ข้อมูลมีไม่เพียงพอ คือผู้วิจัยไม่สามารถแสวงหาข้อมูลมาสนับสนุนผลสรุปได้อย่างเพียงพอ
        7.4 การคัดเลือกข้อมูลไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจเกิดจากผู้วิจัยขาดประสบการณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูลไม่ดีพอ ทำให้ข้อมูลที่ได้มาไม่น่าเชื่อถือ ไม่ถูกต้อง และไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ นอกจากนี้อาจเกิดจากผู้วิจัยมีอคติ หรือความลำเอียงในการคัดเลือกข้อมูลอีกด้วย
        7.5 การวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักตรรกศาสตร์บกพร่อง คือ
            1) สรุปผลหรือยอมรับข้อเท็จจริงด้วยเหตุผลที่ง่ายเกินไป ทั้ง ๆ ที่มีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะสรุปผลอย่างนั้น
            2) ตีความหมายของคำหรือเรื่องราวต่าง ๆ ในข้อมูลผิด
            3) การขยายความคลุมกว้างเกินไปทั้ง ๆ ที่มีข้อมูลไม่เพียงพอ
            4) ไม่สามารถแยกหาประเด็นสำคัญ ๆ ของข้อเท็จจริงได้
        7.6 การวิจารณ์หรือประเมินคุณค่าของข้อมูลไม่เพียงพอ
        7.7 ผู้วิจัยมักจะมีความลำเอียงส่วนตัวเกี่ยวกับลัทธิการเมือง เชื้อชาติ ศาสนา ทำให้มีแนวโน้มที่จะเขียนรายงานคลาดเคลื่อนไป
        7.8 การเขียนรายงานการวิจัยมักขาดการวิเคราะห์ วิจารณ์ และเขียนในรูปแบบที่ไม่ชวนศึกษา เช่น ใช้ภาษากำกวม เขียนเล่นสำนวน วกวน หรือเสริมแต่ง ตลอดจนมีลักษณะเกลี้ยกล่อมให้เชื่อเกินไป ซึ่งวิธีการเขียนดังกล่าวนี้ทำให้น้ำหนักของความเชื่อถือลดน้อยลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น